นกเงือกเป็นอีกหนึ่งของดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ลูกไม้ที่เป็นอาหารกว่า 300 ชนิด ถูกทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ เป็นการแพร่กระจายพันธุ์พืชในป่าลึกที่ไม่มีใครเข้าถึง และจากพฤติกรรมการจับคู่ครั้งเดี่ยวในชีวิต จึงไม่แปลกเลยที่นักอนุรักษ์ได้ให้นกเงือก เป็นสัญญาลักษณ์แห่งรักแท้ และนักปลูกป่าแห่งภูผาสูง ที่สำคัญทุกคนต้องร่วมมือกันเพราะนกเงือกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ถูกขึ้นบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ “กลุ่มรักนกเงือกบ้านบางกะม่า” ในเขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้รวมกลุ่มกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่ออนุรักษ์นกเงือกชุบชีวิตให้กับป่าจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญอีกแห่งของจังหวัดราชบุรี
(คลิปในข่าว)
สมาชิกในกลุ่มฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทางสมาชิกของทางกลุ่มฯซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาชีพหลักอยู่แล้วก็ต้องอาศัยในช่วงวันหยุด นัดแนะกันเข้ามาทำกิจกรรมตรงนี้ โดยจะแบ่งหน้าที่กันออกสังเกตพฤติกรรม เฝ้าดูโพรงที่นกเงือกทีเข้าไปทำรัง ว่าเป็นโพรงที่ใช้งานได้หรือเป็นโพรงร้างถ้าเป็นโพรงร้างก็ต้องหาสาเหตุว่าเพราะอะไร เช่น น้ำขัง โพรงลึก หรือแคบเกินไป ก็จะแก้ไขและเร่งซ่อมให้ เสร็จก่อนเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นกจะเข้าโพรงรังเพื่อวางไข่ ปัญหาตอนนี้ก็คือโพรงตามต้นไม้ใหญ่ที่เกิดจากธรรมชาติเริ่มหาอยากและไม่พอกับจำนวนนกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทางกลุ่มก็ได้เตรียมโพรงเทียมไปติดตั้งไว้แล้วบางส่วน
อย่างไรก็ตามนกเงือกเป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่นคือจะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้าๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็กเป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ตัวเมียเข้ากกไข่ใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้ส่งอาหาร เมื่อลูกโตจะเจาะโพรงออกมา ในประเทศไทยมีนกเงือกทั้งหมด 13 ชนิด จากการศึกษาชีวิตนกเงือกก็พบว่ามันเป็นนักปลูกป่า ตัวจริง ในช่วงตลอดอายุ 30 ปีของมันสามารถปลูกต้นไม้ให้ป่าได้ถึง 500,000 ต้น และ นกเงือกรักเดียวใจเดียว เป็นนกที่สร้างรังเองไม่ได้ ต้องอาศัยโพรงตามต้นไม้ เมื่อถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ถ้าหาโพรงที่เหมาะสมไม่ได้ก็จะไม่ผสมพันธุ์ และถ้าหาได้ก็จะใช้ไปอีกกว่า 10 ปี ซึ่งทางกลุ่มก็จะคอยสำรวจและช่วยเหลือให้นกได้มีโพรงสำหรับวางไข่ขยายพันธุ์
สำหรับผู้ที่สนใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สัมผัสธรรมชาติและผืนป่าที่ยังมีความสมบูรณ์ของป่าเทือกเขาตะนาวศรี ชมฝูงของนกเงือกถึง 4 สายพันธุ์ หลายร้อยตัว มาบินวนเวียนบริเวณหน้าผารากกึ้ง ป่าบ้านบางกะม่า ที่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของนกเงือก ซึ่งจะสามารถพบเห็นได้มากสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ของทุกปี ติดต่อ ผ่านเฟสบุ๊ค “กลุ่ม รักนกเงือกบ้านบางกะม่า” อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
/////////////////////////////////////////
ภาพ/ข่าว : #ทีมข่าวสมาคมสื่อมวลชนราชบุรี
ติดตามข่าวสารในจังหวัดราชบุรีได้ที่ : https://www.facebook.com/groups/1872087123081525/
/////////////////////////////////////////////////////////////
จิตอาสาซ่อมรังนกเงือกสัญญาลักษณ์แห่งรักแท้และนักปลูกป่าแห่ง “บางกะม่า”
Reviewed by ไชโยราชบุรี
on
กรกฎาคม 10, 2561
Rating: