ยกระดับคุณภาพสับปะรด จับกลุ่มเครือข่าย สู่การพัฒนาแบบองค์รวม


สสว. ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ  พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรยกระดับคุณภาพสับปะรด จ.ราชบุรี ในโครงการสนับสนุน SME ปี2562


วันที่ 12 มิ.ย.62  ที่ศูนย์สัมมนาบ้านไร่ในฝัน อ.บ้านคา จ.ราชบุรี  นายฑรัท เหลืองสะอาด นายอำเภอบ้านคา  ผศ.ดร.มโน สุวรรณคำ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ( มทร.ธัญบุรี )  ร่วมกันจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์หรือเครือข่าย ว่า มทร.ธัญบุรี หลังได้รับมอบหมายจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว.) ให้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME  ปี2562  มุ่งเน้นให้มีการรวมกลุ่มผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ แบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงอย่างเข้มแข็ง สามารถพึ่งพากันภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในรูปแบบของการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการในกระบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตร เน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับการผลิต  การให้บริการ  การลดต้นทุน การปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการเครือข่าย (service Provider SP) และผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent CDA) และเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นช่องทางในการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งอย่างรอบด้านของคลัสเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น


ผศ.ดร.วัลลภ พรหมทอง ที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 จาก มทร. ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์ กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรฯ ครั้งนี้ เจาะกลุ่มไปที่สับปะรด จ.ราชบุรีในหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตและการแปรรูปสับปะรด ยุค 4.0   

ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะเน้นเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องคลัสเตอร์ กรณีศึกษาการพัฒนาคลัสเตอร์ต้นแบบ บทบาทหน้าทีผู้ประสานงาน  (CDA) กิจกรรมจิตสัมพันธ์สร้างสรรค์ทีมสู่การบูรณาการพัฒนาเชื่อมโยงคลัสเตอร์ และเนื้อหาสำคัญด้านแนวทางการลดปริมาณขยะจากสับปะรดและการเพิ่มมูลค่า การใช้ Technical Textile ต่อคุณภาพของสับปะรด รวมถึงการทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาคลัสเตอร์ในปี 2562

สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับครั้งนี้ คือการพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์ “ สับปะรด ” ที่มีการร่วมกันปรึกษา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทีมคณาอาจารย์ มทร.ธีญบุรี ภายใต้งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิดการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ การขยายตัวของธุรกิจ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาที่เหมาะสม และผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี


นายฉัตรชัย ธนิกกุล  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคา  กล่าวว่า  สิ่งที่คาดหวังสำหรับโครงการที่จะทำคลัสเตอร์สับปะรดที่ราชบุรี เห็นการเข้าแก้ปัญหา ที่ประสบปัญหาหลาย ๆ ด้านของการทำสับปะรด ไม่ว่าสภาพของโรคแมลงอุภัยใหม่ เรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน ปัจจัยต้นทุน ปัจจัยขั้นตอนการผลิต ด้านแรงงาน วัสดุต้นทุนที่สูงขึ้น  วันนี้ก็ต้องมีการพัฒนาสู่เป่าหมายให้คุณภาพดีขึ้น รวมถึงการกระจายตัวในช่วงเดือนต่าง ๆ ให้มีสม่ำเสมอ เพราะสับปะรดจะออกกระจุกตัวในช่วงเดือน อีกหลายช่วงเดือนก็ไม่มีผลผลิต อย่างให้มีการแก้ไข้ในลักษณะนี้ สำหรับทาง สสว.
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ( มทร.ธัญบุรี ) ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนา ทำคลัสเตอร์ในครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานเป็นหน่วยงานที่มีสักยภาพมีเทคโนโลยี มีองค์ความรู้ต่าง ๆ หวังเพิ่งที่จะรับโจษที่ทางกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เข้าไปสู่แนวทางปฏิบัติ สร้างเป็นนวัตกรรม ทำอย่างไรให้ผลผลิตมีคุณภาพ มีปริมาณออกสม่ำเสมอทั้งปี ต้นทุนลดลง สู่ความยั่งยืนของการทำอาชีพไร่สับปะรดที่บ้านคา


ด้านนายจันทร์ เรืองเรรา อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 74/1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เกษตรกรปลูกสับปะรดโรงงาน สับปะรดผลสด และเกษตรผสมผสานควบคู่กันไป ใช้ความรู้ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  กล่าวว่า  ต้องของขอบคุณทางมหาวิทยาลัยฯ ที่ให้โอกาสเกษตรกรในอำเภอบ้านคาได้เสริมสร้างความรู้ สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น วันนี้ปัญหากลุ่มเกษตรกรทำสับปะรด ด้านการตลาดที่ไม่ค่อยชัดเจน ด้านคุณภาพของสินค้าก็ยังมีปัญหาอยู่ สิ่งที่ตามมาคือเรื่องโรค เรื่องอากาศ  สิ่งที่ทางมหาวิทยาลัยฯได้เห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรชาวไร่สับรด ที่ลงมาดูแลช่วยเหลือ ให้ความสำคัญกลุ่มอาชีพของเกษตรกรปลูกสับปะรด เพื่อเป็นการสร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้ดีขึ้นในอนาคต และอยากจะบอกว่าสิ่งที่เกษตรกรต้องการความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ยกระดับคุณภาพสับปะรด จับกลุ่มเครือข่าย สู่การพัฒนาแบบองค์รวม ยกระดับคุณภาพสับปะรด จับกลุ่มเครือข่าย สู่การพัฒนาแบบองค์รวม Reviewed by ไชโยราชบุรี on มิถุนายน 12, 2562 Rating: 5

ขับเคลื่อนโดย Blogger.